บ้านหลังคาลาดเอียง
บ้าน,  บ้านเดี่ยว

บ้านหลังคาลาดเอียง

บ้านหลังคาลาดเอียง

บ้านหลังคาลาดเอียง

บ้านหลังคาลาดเอียง สำหรับบ้านของคนทำงานศิลปะ บางครั้งเราจะเห็นตัวตนที่ใส่เข้าไปอย่างชัดเจนจนบ้านเหมือนเป็นงานศิลป์ชิ้นใหญ่ อย่างสตูดิโอในโตเกียว สถาปนิก DOG ได้สร้างโปรเจ็คชื่อ 8.5  House ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยขนาดเล็กสไตล์อาร์ตเวิร์กสำหรับจิตรกรและครอบครัวของเขาในเมืองนิโนะมิยะประเทศญี่ปุ่น ที่อยู่อาศัยมีหลังคาลาดเอียงสูงชันแบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

เป็นสามเหลี่ยมที่นำเสนอรูปแบบภายนอกของประติมากรรม ในขณะที่ภายในถูกกำหนดโดยผนังแนวทแยง ที่เจ้าของให้โจทย์ไว้ว่า ต้องการพื้นที่ผนังค่อนข้างมากเพื่อให้งานของจิตรกรสามารถแสดงได้ที่ความยาวสูงสุด สร้างองค์ประกอบของช่องว่างที่มีทั้ง กว้าง / แคบ/สูง / ต่ำ และภาพสามมิติภายในบ้านได้อย่างแปลกตา

บ้านหลังคาลาดเอียง

ธีมคือการเปิดห้องศิลป์ใน ninomiya-cho ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง oiso (เมืองที่ 8) และ odawara (เมืองที่ 9) ซึ่งเป็นสตูดิโอของ Ryutaro Saito ที่จะมีส่วนของที่พักอาศัยอยู่ด้วย จึงได้คิดค้นส่วนผสมแบบใหม่ในบ้านหลังนี้และเวิร์กช็อปของศิลปินเข้าด้วยกัน เมื่อพิจารณาถึงรูปร่างของที่ดินแล้วจะสร้างบ้านรูปทรงสี่เหลี่ยมเป็นตึกขึ้นเต็มพื้นที่ก็ได้ แต่จะดูธรรมดาไป จึงเว้นพื้นที่หน้าไซต์เอาไว้เป็นจุดจอดรถ หลังคาและผนังเฉียงสูงปลายแหลมเหมือนมีดที่หุ่มหุ้มวัสดุเดียวกันจนกลายเป็นส่วนเดียวกัน ประตูถูกตัดเฉียงเบี่ยงลึกเข้าไปข้างใน ทำให้บ้านดูปลอดภัยแม้ไม่มีรั้ว

บ้านโมเดิร์นรูปทรงสามเหลี่ยม

มุมตัดข้างบ้าน จะเห็นว่าตัวอาคารจะเฉียงเข้าไปเล็กน้อยจากแนวถนน มีทางเดินและที่จอดรถเป็นเหมือนกันชนระหว่างถนนกับบ้าน  ผนังด้านนี้มีรูปลักษณเหมือนใบมีดคัตเตอร์ที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าชวนสะดุดตาแค่ไหน

บ้านสไตล์โมเดิร์น

ภาพแปลนอาคารแสดงแนวการติดตั้ผนังส่วนหน้าที่เป็นแกลเลอรีและด้านหลังที่เป็นบ้านแนวทแยงทำให้เกิดมุมแหลมทุกด้านของบ้านภาพแปลนอาคารแสดงแนวการติดตั้ผนังส่วนหน้าที่เป็นแกลเลอรีและด้านหลังที่เป็นบ้านแนวทแยงทำให้เกิดมุมแหลมทุกด้านของบ้าน

ทางขึ้นบนชั้น 2 ที่จะเป็นส่วนของบ้านมีบันไดไม้เล็ก ๆ นำทางขึ้นไป เมือ่เงยหน้าขึ้นจะเห็นมุมหน้าตัดรูปสามเหลี่ยม สร้างพื้นที่ไดนามิกที่ไม่พบในบ้านทั่วไป นอกจากนี้ ช่องเปิดทางด้านทิศใต้กว้าง และกำแพงสีขาวด้านทิศเหนือจะถูกตัดออก เพื่อให้มองเห็นแนวสายตาจากห้องโถงใหญ่ถึงทางเข้า หลังคา ผนัง และพื้นทั้งหมดทำด้วยไม้เฟอร์ดักลาสขนาด 105 ตร.ม. เพื่อลดความหนาช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้นอีกนิดชดเชยความรู้สึกแคบของมุมแหลม

ส่วนของ “บ้าน” ถูกกำหนดให้อยู่ด้านหลังโดยใช้ผนัง “แกลเลอรี” เป็นตัวแยกโซนที่อยู่อาศัยออกจากห้องทำงาน กำแพงนี้เปิดโอกาสให้ตัวศิลปินได้แสดงผลงานของเขาต่อเมืองโดยใช้ความยาวสูงสุดในแนวทแยงมุมของไซต์ ที่นี่มีทางเข้ากระจกสูงช่วยให้ผู้คนเดินผ่านไปมาได้ มองเห็นถึงประตูทางเข้าชั้นสอง โดยเฉพาะในช่วงค่ำจะชัดเป็นพิเศษ ฟังก์ชันที่ชั้นนี้จะมีมุมนั่งเล่นและห้องครัว ซึ่งทั้งสองจุดจะใช้พื้นที่ไปจนสุดมุมแหลมของแต่ละด้าน ปูพื้นด้วยไม้ เพดานเอียงแหลมๆ แต่อบอุ่นกับคานไม้ ความเขียวขจีของต้นไม้ที่คุณภรรยาชอบถูกจัดวางอย่างมีรสนิยมทำให้บรรยากาศของพื้นที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น

บ้านสไตล์โมเดิร์น

“มันเป็นบ้านที่ไม่ธรรมดา แต่ฉันรู้สึกว่ามันเป็นบ้านที่ดีจริงๆ” เจ้าของบ้านกล่าว และเพิ่มเติมว่าชอบความโล่งกว้างของห้องนั่งเล่น แนวสายตาสามารถมองเห็นได้สองทิศทางและเพดานสูงทำให้ไม่รู้สึกว่ามุมแหลมจะทำให้บ้านแคบขนาดนั้น อาจเป็นเพราะมันเป็นพื้นที่ที่มีมุมมองเป็นแนวทแยง ยังสามารถจัดปาร์ตี้ เชิญแขกมาแวะทักทายทานอาหารกันได้ตามที่ต้องการ

ในเมื่อตั้งใจที่จะอยู่กับมุมแหลมก็ต้องอยู่ได้กับทุกจุด ไม่เว้นแม้แต่ห้องอาบน้ำที่ไม่ต้องปรับหรือแต่งให้เป็นรูปร่างอื่นใด ๆ ก็ทำรูปร่างอ่างเข้ามุมสามเหลี่ยมไปเลยเช่นกันรูปทรงของที่ดิน เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้านเช่นกัน  หนึ่งในที่ดินที่วางตัวบ้านยากที่สุด คือ ที่ดินรูปสามเหลี่ยมหรือที่ภาษาบ้าน ๆ

เรียกกันว่าที่ดินชายธง เพราะทุกด้านของที่ดินจะเฉียงเข้ามาแล้วแคบลงเรื่อย ๆ จนเหลือบริเวณมุมส่วนปลายแหลมนิดเดียว จะใช้ทำอะไรก็ลำบาก นอกจากจะผิดหลักฮวงจุ้ยที่ซินแสไม่สนับสนุนให้สร้างบ้านรูปร่างสามเหลี่ยม แล้วการวางฟังก์ชันในตัวบ้านก็ทำได้ยาก เหมือนบ้านหลังนี้ที่จะดูแหลมในทุกมุม แต่เจ้าของบ้านใช้วิธีแก้ไข โดยการเพิ่มพื้นที่ด้านบนให้สูงขึ้นเพื่อทดแทนความรู้สึกที่ถูกบีบให้แคบตรงมุม ซึ่งทำให้อยู่อาศัยได้สบายขึ้น 

บ้านสไตล์โมเดิร์น เรียบหรู ประหยัดงบประมาณ

แน่นอนว่าบ้านสไตล์โมเดิร์น เป็นบ้านที่หลายคนใฝ่ฝันและชื่นชอบอย่างมาก แถมยังมีการออกแบบเรียบง่ายไม่ยุ่งยาก หากมีการนำมาสร้างที่ประเทศไทย สถาปนิกจึงมีการนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพอากาศและความเป็นอยู่ของคนไทย โดยมีการยกหลังคาให้สูง เพื่อป้องกันความร้อน ออกแบบปีกกันน้ำฝน เป็นต้น

หากใครกำลังต้องการปลูกบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือ ศึกษาหาข้อมูล วันนี้พี่เข้มาพร้อมกับ ข้อดีของบ้านสไตล์โมเดิร์น เพื่อเป็นแนวทาง แต่ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนเลยว่ารูปแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นมีการออกแบบมาเพื่อชาวตะวันตก หากมีการนำมาปลูกสร้างแน่นอนว่าจะต้องพบเจอกับปัญหาบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างแน่นอน

บ้านสไตล์โมเดิร์น

ข้อดีของบ้านสไตล์โมเดิร์น

  • บ้านสไตล์โมเดิร์นเน้นความโปร่งโล่ง มีการออกแบบพื้นที่โล่ง เพื่อการใช้สอย ไม่นิยมก่อผนังกั้นมากเกินไป
  • มีการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นระเบียบ เรียบง่าย ไม่เยอะ
  • การสร้างผนังแบบปูนเปลือยที่ไม่จำเป็นต้องทาสี
  • พื้นบ้านที่ไม่ต้องมีการปูกระเบื้อง
  • ดีไซน์เรียบหรู ทันสมัย ดูแลรักษาง่าย
  • บ้านสไตล์โมเดิร์นมีการประหยัดงบประมาณ
  • พื้นเพดานบ้านสไตล์โมเดิร์นไม่จำเป็นต้องมีการทำเพดานฝ้า
  • โครงสร้างบ้านก็ไม่ซับซ้อนมาก

ข้อเสียของบ้านสไตล์โมเดิร์น

  • บ้านสไตล์โมเดิร์นดูแข็ง ไม่อบอุ่นเท่าสไตล์อื่นๆ
  • องค์ประกอบต่าง ๆ ไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนในเมืองไทย
  • กระจกบานใหญ่ อาจทำให้แดดและความร้อนเข้าบ้านมากเกินไป
  • บ้านทรุดโทรมได้ง่าย

บ้านสไตล์โมเดิร์น ถือเป็นรูปแบบบ้านที่มีการออกแบบเรียบง่าย จุดเด่นเลยคือการมีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเน้นประโยชน์ใช้สอย แถมยังมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป แต่ถึงอย่างไรหากต้องการบ้านสไตล์โมเดิร์น อย่าลืมเลือกบ้านที่เหมาะกับสภาพอากาศ และพื้นที่การปลูกสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องบ้านภายหลัง เพื่อให้บ้านน่าอยู่ เกิดความประทับใจต่อผู้พบเห็น click here