แบบบ้านหน้าแคบ
แบบบ้านหน้าแคบ ออกแบบบ้านหน้าแคบ ทำได้อย่างไร บ้านในเขตชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องจาก ราคาที่ดินในเมือง มีราคาสูง การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ บ้านหน้าแคบแต่ลึก มักจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน แบบบ้านทาวน์โฮม 2 ชั้น โมเดิร์น ทำให้รู้สึกอึดอัด คับแคบ ต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน มาดูแนวทางแก้ปัญหาเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูมีพื้นที่ ไม่แออัด ดังนี้
แบบบ้านหน้าแคบ
1.ยอมสละพื้นที่ใช้สอยอีก 50 เซนติเมตร
ตามกฎหมายระยะร่น อนุญาตให้สามารถร่นระยะอาคารได้น้อยสุด 50 เซนติเมตร โดยบริเวณดังกล่าว จะต้องออกแบบในลักษณะ ผนังทึบ หากออกแบบโปร่ง มีช่องแสง ช่องลม จำเป็นต้องร่นระยะอาคาร 2 เมตรขึ้นไป การออกแบบบ้านในที่ดินหน้าแคบ ส่วนใหญ่จึงออกแบบในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ปิดทึบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำให้ภายในบ้านมืด อับแสง
2.พื้นที่ทำส่วนนอกบ้านไม่พอ ทำสวนในบ้านได้
อยากมีสวนไว้ที่บ้าน แต่พื้นที่มีจำกัด การออกแบบสวนไว้ในบ้าน หรือที่เรียกกันว่า คอร์ตในบ้าน (Courtyard) เป็นอีกแนวทาง ที่สามารถเติมเต็มธรรมชาติมาไว้ภายในบ้านได้ ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ปลอดภัย และได้รับแสงสว่าง แม้ผนังบ้านจะปิดทึบก็ตาม
3.เปิดผนังติดระยะร่น ทำหลังคาเปิด
การรับแสงสว่าง ในการออกแบบบ้านทั่วไป จะรับผ่านทางผนัง กระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหลังคาบ้าน ก็สามารถรับแสงสว่างได้เช่นกัน การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง สามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูโปร่งกว้างได้
4.โปร่ง ปลอดภัย เป็นส่วนตัว
สำหรับพื้นที่บางส่วน ที่สามารถเว้นระยะร่นได้ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน การออกแบบให้โปร่ง โล่ง สามารถรับแสงตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องออกแบบด้วยวัสดุกระจก อาจทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวได้ แต่เราสามารถออกแบบ เปลือกอาคารภายนอกด้วย facade สวยงาม เลือกใช้ระแนง บล็อกคอนกรีต มาปิดกั้นความเป็นส่วนตัว พร้อมกับออกแบบประตูกระจกบานเลื่อน ที่สามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้
5.ออกแบบ้านให้ชิดด้านใด ด้านหนึ่ง
บ้านเดี่ยวทั่วไป ที่มีขนาดที่ดินประมาณ 15-20 เมตร นิยมวางผังบ้านไว้กึ่งกลางที่ดิน พร้อมกับเว้นระยะร่นด้านละ 2 เมตร ตามกฎหมายกำหนด แต่สำหรับที่ดินหน้าแคบ การเว้นระยะร่นในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลเหลือพื้นที่ก่อสร้างน้อย การเลือกเว้นด้านใด ด้านหนึ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สวน พื้นที่โปร่ง พร้อมกับออกแบบให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลักษณะผนังทึบ เพื่อสามารถเว้นระยะร่นด้านข้างเพียง 50 เซนติเมตร จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างนอกอาคารมากขึ้น ใช้งานจริงได้ดีกว่าเดิม
แบบที่ 1 บ้านหน้าแคบ สีเทากับผนังทึบ
ใครที่มีพื้นที่ดิน หน้าแคบแถมลึกยาวเข้าไปอย่าเพิ่งนอยด์ กับการหาแบบบ้านยากนะคะ เพราะวันนี้บ้านไอเดียมีแบบบ้านที่น่าจะตอบโจทย์สำหรับคนที่มีปัญหาคล้าย ๆ กัน ลองเข้ามาดูตัวอย่างแนวคิด การออกแบบบ้านที่พื้นที่ด้านหน้าแคบแถมติดถนนหลังนี้ จะรู้เลยว่าแม้พื้นที่จะน้อยแต่ใช้สอยได้มากกว่าที่คิด บ้านหน้าแคบ
ถ้าเพียงมองจากด้านนอกจะเห็นอาคารปิดทึบบางส่วนทำให้นึกไม่ถึงเลยค่ะว่าด้านในจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิง คือ เปิดรอบตัวบ้านให้รู้สึกถึงความโล่งโปร่งไม่อึดอัดคับแคบ หากชื่นชอบไอเดียบ้านที่เปิดรับบรรยากาศภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย ๆ แบบนี้ลองนำไปประยุกต์ใช้กับบ้านในอนาคตกันได้
The Sela Residence เป็นบ้านโมเดิร์นที่ออกแบบมาสำหรับครอบครัวมือใหม่ใน Venice, California ความท้าทายในการออกแบบอยู่ตรงที่พื้นที่ติดถนน หน้าแคบ และเป็นด้านลึกยาวเข้าไป โจทย์ที่สถาปนิกต้องแก้คือ ทำพื้นที่หน้าบ้านให้มีความเป็นส่วนตัวและเปิดวิสัยทัศน์ให้บ้านไปในขณะเดียวกัน
แถมยังต้องจัดสรรพื้นที่ภายในให้ใช้งานได้ดีเท่า ๆ กันกับบ้านที่มีพื้นที่หน้ากว้าง บทสรุปจึงออกมาที่การจัดพื้นที่สวนบริเวณหน้าบ้านกั้นระหว่างตัวบ้านกับถนนก่อนจะเข้าถึงตัวบ้าน รูปแบบบ้านโมเดิร์นทรงกล่องปิดด้านหนึ่งด้วยฟาซาดคอนกรีตสีเทา และเปิดอีกด้านหนึ่งของบ้านเป็นประตูทางเข้าที่โดดเด่นตัดความรู้สึกหม่นทึมของผนังอีกฝั่งด้วยกำแพงกรุไม้เก่าดิบ ๆ หลากสีสัน
ภายในบ้านตกแต่งให้มีความลื่นไหล ของพื้นที่ตั้งแต่ด้านหน้า เมื่อเดินเข้ามาจะ เป็นห้องกระจกโปร่งยาวจรดหลังบ้าน ประกอบด้วย ห้องทานอาหาร ห้องครัว ห้องนั่งเล่น เปิดเชื่อมต่อกับบรรยากาศ ภายนอกด้วยประตูกระจกทั้งสองด้านของอาคาร ด้านหนึ่งติดพื้นที่สระน้ำ อีกด้านหนึ่งเป็นสวน
อยากรู้สึกใกล้ชิดความฉ่ำชุ่มของน้ำ หรือความสดชื่นจากต้นไม้ใบหญ้าตรงสวน out door ที่นี่ก็มีให้ครบถ้วนเพียงแค่เลื่อนบานประตูเท่านั้น หรือจะนั่งอ่านหนังสือสบาย ๆ ในห้องก็ไม่ว่ากันเพราะห้อง พักผ่อนบิวท์ตู้หนังสือขนาดใหญ่ไว้รองรับนักอ่าน
การตกแต่งภายในผนังห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ กรุไม้เก่าหลากสีหลายความต่างของพื้นผิวที่สร้างความรู้สึกต่อเนื่องให้บ้านตั้งแต่แผงผนังหน้าบ้าน เข้ามาแทรกตัวอยู่ในแทบทุกพื้นที่ราวกับภาพตัดปะ เป็นการสร้างจังหวะทางสายตาที่น่าสนใจตัดอารมณ์กับ ความเรียบเย็นของพื้นปูนขัดมัน พื้นไม้วอลนัทสีคมเข้ม และกรอบประตูสีดำ ได้อย่างน่ามอง
แบบที่ 2 บ้านหน้าแคบ ออกแบบให้คนโสดอยู่สบาย
บ้านมินิมอล ที่ทำให้ลืมความแคบ นักออกแบบแบ่งฟังก์ชั่นของบ้านออกเป็น 2 ส่วน หลักๆ คือ พื้นที่ที่มีไดนามิกหรือความเคลื่อนไหว ประกอบด้วย ฟังก์ชันสาธารณะ เช่น ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ห้องนั่งเล่น พื้นที่คงที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวประกอบด้วย ห้องนอน 1 ห้องสำหรับเจ้าของบ้าน และ 1 ห้องสำหรับแขก การวางแนวบ้านใช้ตำแหน่งตะวันออก-ตะวันตกตามลักษณะของที่ดิน
ภายในจัดแปลนแบบ Open plan ไม่มีผนังก่อทึบแบ่งห้องเลย เพื่อให้บ้านดูกว้าง และใช้งานได้ลื่นไหลทะลุถึงกันได้หมด ในส่วนพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหวมาก ซึ่งจะใช้งานในช่วงกลางวัน เป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นช่วงดวลาที่เจ้าของห้องไปทำงาน จะวางตำแหน่งเอาไว้ทางทิศตะวันตก
ซึ่งมีแสงพระอาทิตย์ตกในช่วงบ่าย มีห้องครัวและโต๊ะรับประทานอาหารอยู่ตรงกลาง (ชั้นหนึ่ง) พื้นที่เหล่านี้แทบจะเปิดโล่งออกสู่ถนนที่เงียบสงบหน้าบ้าน เพราะอยากให้เจ้าของสามารถ เชื่อมต่อกับชุมชนรอบข้างได้ดีขึ้น ครัวที่มีเคาน์เตอร์คอนกรีตท็อปไม้ปูกระจก ให้อารมณ์ Cool เหมือนเคาน์เตอร์ที่เคยเห็นใน ร้านกาแฟแบบญี่ปุ่นมินิมอล เรียบง่ายแต่ก็เพียงพอสำหรับใช้งานคนเดียว
ส่วนเคลื่อนไหวอยู่ตะวันตก ห้องนอนอยู่ตะวันออก ถัดจากครัวจะเป็นพื้นที่ว่าง โถงสูงกลางอาคาร พื้นที่นี้จะทำหน้าที่ทั้งเชื่อมต่อและแบ่งสัดส่วน การใช้งานไปสู่ด้านหลังของบ้าน ซึ่งจัดเป็นห้องนอนอยู่ ทางทิศตะวันออก ซึ่งทิศนี้มีแสงอ่อน ๆ ในตอนเช้า โดยทีมงานทำโครงสร้างไม้ เป็นเสาเหมือนเป็นเตียงสองชั้น ที่มีส่วนล่างสำหรับเจ้าของบ้านส่วนบนสำหรับแขก และทำบานประตูบานเฟี้ยม พับเก็บได้ สำหรับเปิดเมื่อต้องการระบาย อากาศและปิดเป็นส่วนตัว ความยืดหยุ่นแบบนี้ทำให้บ้านดูโปร่ง สว่าง และเลือกใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
ห้องนอนสี่เสาเหมือนเตียง 2 ชั้น ชั้นบนเหนือห้องนอนเป็นแผ่นพื้นทำจากไม้ที่จัดไว้โล่ง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย จะมานั่งเล่นดื่มน้ำชา หรือจัดเป็นห้องนอนสำหรับแขกก็ได้ บริเวณเสามีม่านมู่ลี่ ติดทุกด้านเพื่อใช้บังแสงและปิดเป็นส่วนตัว พื้นที่ติดผนังข้าง ๆ แบ่งเป็นทางเดินคอนกรีตเล็ก ๆ มีบันไดนำขึ้นไปชั้นดาดฟ้า บ้านหรู
ทางขึ้นไปชั้นสองจะผ่านบันไดคอนกรีต ที่ฝังอยู่บนผนังอย่างท้าทาย ค่อยๆ นำทางขึ้นไปยังชั้นลอย ที่เหมือนเป็นเวทีลอยตัวอยู่ ซึ่งส่วนนี้จะเน้นวัสดุแผ่นคอนกรีต จึงให้ความรู้สึกดิบ กระด้างกว่าอีกฝั่งแต่ก็รู้สึก ถึงความทันสมัยและแอบเท่กว่าเล็ก ๆ ส่วนนี้จะเป็นห้องน้ำ และพื้นที่นั่งเล่น