บ้านหน้าแคบ
บ้านหน้าแคบ
บ้านหน้าแคบ โครงการ TamHouse นี้มีพื้นที่เพียง 3.6 x 16 เมตร ตั้งอยู่บนซอยเล็ก ๆ ใจกลางกรุงฮานอย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดินที่พบมากขึ้นในเขตเมืองใหญ่ของเวียดนาม โจทย์สำหรับงานออกแบบคือ จำลองโครงสร้างครอบครัวที่เห็นได้ทั่วไปในวัฒนธรรมของเอเชียที่เรียกว่า “สี่ชั่วอายุคนภายใต้หลังคาเดียวกัน” แบบบ้านไม้
ดังนั้นจึงต้องการให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัวใหญ่ในวันหยุด แต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวเมื่อมีสมาชิกใหม่ นอกจากข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบลึกแล้ว ด้วยพื้นที่ค่อนข้างจำกัดในแง่ของความกว้าง ที่ทำให้การสัญจรไปมาลำบากสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องน่าติดตามว่าสถาปนิกจะแก้โจทย์นี้อย่างไร เลขมงคลตามวันเกิด
บ้านหน้าแคบลึกสำหรับคน 3 Gen
ด้วยพื้นที่ดินที่แคบ ความสูงของพื้นจำกัด และอยู่ในตรอกเล็กๆ เพื่อให้ได้พื้นที่โล่งสำหรับพื้นที่สีเขียว แทนที่จะเปิดห้องโถงขนาดใหญ่ สถาปนิกสร้างช่องรับแสงขนาดเล็กเพื่อหมุนเวียนอากาศที่ส่วนท้ายของบ้าน และสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพสำหรับทางแยกและส่วนหน้า แต่ส่วนที่ชวนโฟกัสสายตามากที่สุดจะอยู่ที่คานเหล็กฉลุโปร่งๆ สีขาวที่ยื่นออกมา เป็นการใช้ประโยชน์จากซอยที่เงียบสงบ สร้างการสื่อสารเข้าและออกรวมทั้งขยายพื้นที่บ้านเหนือทางเข้า เป็นเป็นจุดชมวิวนั่งเล่นที่สามารถโต้ตอบกับเพื่อนบ้านที่ผ่านไปมาได้
ต้นไม้ทั้งหมดที่อยู่ชั้นบนใช้เป็นฟาซาดด้านนอกของบ้าน ซึ่งรวมเข้ากับพื้นผิวทางสถาปัตยกรรมอย่างแนบเนียน ความโปร่งด้านหน้าของบ้านสร้างความรู้สึกที่สวยงาม ไม่เพียงเท่านั้นต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่น ลดผลกระทบจากควันพิษของยวดยานที่ผ่านไปมา เหมือนเป็นพื้นที่ปอดของบ้านและชุมชน และนำความเป็นส่วนตัวมาสู่ห้องนอนที่อยู่ติดด้านหน้าด้วย
จากประตูไม้บานใหญ่หน้าบ้านเปิดเข้าไปจะพบกับพื้นที่โถงโปร่งๆ ไม่ใหญ่มาก ปูทางเดินด้วยเหล็กทำเป็นช่องตารางใส่กรวดข้างใน ถัดไปเป็นพื้นเรียบๆ เจาะพื้นรูปทรงกลมวางเหล็กดัดลายดอกแก้วโบราณแล้วใส่กรวดไว้ข้างในดูสะดุดตา เหนือจุดนี้สถาปนิกใช้ฝ้าเพดานเป็นการฉายภาพ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นมิติของสถาปัตยกรรมและธรรมชาติอย่างกลมกลืน จนลืมว่านี่คือบ้านหน้ากว้างเพียง 3.6 เมตร บางครั้งความงามหลังจากสร้างเสร็จก็สวยงามเกินกว่าที่นักออกแบบและเจ้าของบ้านจะคาดถึง
ลึกเข้าไปข้างในจะมีประตูบ้านที่เป็นบานผลักอีกชั้น เพิ่มความรู้สึกปลอดภัย ภายในพบกับห้องนั่งเล่นที่สวยงามด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่ ทีมงานเน้นการจัดเฟอร์นิเจอร์ให้ชิดผนังทั้งสองด้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่สัญจรง่ายๆ สำหรับผู้สูงวัยตรงกลาง ส่วนการตกแต่งใช้โทนสีน้ำตาลของงานหนัง พรมสีอ่อนๆ และของตกแต่งที่เป็นงานไม้ ทำให้สมาชิกที่สูงวัยยังคงคุ้นตาไม่รู้สึกแปลกแยก
บ้านหน้าแคบ 3.6 ม. กระถางใบใหญ่ในเมืองที่ชิลได้
จากชั้นล่างจะมีบันไดเป็นแกนหลักในการสัญจรระหว่างชั้นของคนอายุน้อยๆ ซึ่งออกแบบให้มีชานพักระหว่างชั้นสามารถนั่งเล่นทำกิจกรรมประจำวันได้ ส่วนลิฟต์สำหรับผู้สูงวัยถูกวางไว้ที่ส่วนท้ายของบ้าน
บ้านนี้เน้นการมีส่วนร่วมกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแสง ลม หรือต้นไม้ อย่างที่เราเห็นว่าแทบทุกจุดจะต้องมีต้นไม้วางอยู่ อาจจะเป็นไม้ประดับแบบแขวน แบบกระถาง หรือแบบปลุูกลงดินในจุดที่ตั้งใจวางตำแหน่งเอาไว้ตั้งแต่แรก จึงไม่รู้สึกว่าบ้านขาดพื้นที่ปลุกต้นไม้ ส่วนและนั้นสถาปนิกแก้ไขปัญหาบ้านหน้าแคบลึกแถมยังมีหลายชั้นที่มักขาดแสงตรงช่วงกลางของบ้าน ด้วยการเจาะพื้นเพดานของบ้านในบางจุด แล้วใส่ของแสง skylight ดึงแสงเข้าสู่บ้านจากด้านบนแทนด้านข้าง ที่ว่างในบ้านยังเอื้อให้แสงและลมกระจายไประหว่างชั้นได้ด
ห้องครัวกับห้องทานข้าวจะอยู่ที่ชั้นบน ซึ่งพยายามคงคอนเซ็ปการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานให้ชิดผนังทั้งสองด้าน เพื่อเปิดพื้นที่ตรงกลางให้ขยับเก้าอี้ทานข้าวได้สะดวก สำหรับโต๊ะทานข้าวด้านติดผนังยังทำเป็นม้านั่งบิลท์อินยาว ช่วยให้ประหยัดพื้นที่สำหรับวางเก้าอี้ไปได้อีก
การอยู่ในบ้านหน้าแคบและลึก และมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป มักจะมีปัญหาที่คล้ายๆ กัน คือ การจัดสรรพื้นที่ให้ดูกว้าง การขาดแสงในใจกลางอาคาร ไม่มีช่องลมที่เพียงพอ ทำให้บ้านมืด ทึบ ขาดการติดต่อระหว่างชั้น วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น อาจทำได้ด้วยการจัดเฟอร์นิเจอร์เข้าชิดผนังให้มากที่สุด เพื่อเปิดพื้นที่สัญจรตรงกลาง
พยายามใช้พื้นที่แนวตั้งบนผนังให้มากขึ้น เช่น ติดชั้นวางบนผนังหรือบิลท์อิน หากเป็นไปได้ลองลดพื้นที่พื้นเพดานชั้นบน เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้ง ทำ skylight รับแสงจากด้านบน ก็จะทำให้การรับแสง การหมุนเวียนอากาศในบ้าน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นทำได้ง่าย
ออกแบบบ้านหน้าแคบ ทำได้อย่างไร?
บ้านในเขตชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องจาก ราคาที่ดินในเมือง มีราคาสูง การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ บ้านหน้าแคบแต่ลึก มักจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน ทำให้รู้สึกอึดอัด คับแคบ ต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน มาดูแนวทางแก้ปัญหาเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูมีพื้นที่ ไม่แออัด ดังนี้
1. ยอมสละพื้นที่ใช้สอยอีก 50 เซนติเมตร
ตามกฎหมายระยะร่น อนุญาตให้สามารถร่นระยะอาคารได้น้อยสุด 50 เซนติเมตร โดยบริเวณดังกล่าว จะต้องออกแบบในลักษณะ ผนังทึบ หากออกแบบโปร่ง มีช่องแสง ช่องลม จำเป็นต้องร่นระยะอาคาร 2 เมตรขึ้นไป การออกแบบบ้านในที่ดินหน้าแคบ ส่วนใหญ่จึงออกแบบในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ปิดทึบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำให้ภายในบ้านมืด อับแสง
การกำหนดระยะร่น จะอิงตามด้านขนานของขอบที่ดินในด้านนั้น ๆ แต่ไม่รวม การเปิดช่องแสงในด้านตั้งฉาก ผังห้องที่ติดกำแพง จะต้นเว้นระยะร่นอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ผนังที่หันไปทางหน้าบ้านจะไม่ได้อิงจากขอบที่ดินติดกำแพง จึงสามารถเปิดช่องแสงได้ อาจจะเว้นระยะร่นในบางส่วนเพิ่มขึ้นอีก 50 เซนติเมตร เพื่อเว้นพื้นที่ไว้สำหรับทำช่องแสง ช่องหน้าต่าง เพื่อเปิดรับแสงให้ห้องได้
2. พื้นที่ทำส่วนนอกบ้านไม่พอ ทำสวนในบ้านได้
อยากมีสวนไว้ที่บ้าน แต่พื้นที่มีจำกัด การออกแบบสวนไว้ในบ้าน หรือที่เรียกกันว่า คอร์ตในบ้าน (Courtyard) เป็นอีกแนวทาง ที่สามารถเติมเต็มธรรมชาติมาไว้ภายในบ้านได้ ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ปลอดภัย และได้รับแสงสว่าง แม้ผนังบ้านจะปิดทึบก็ตาม
สิ่งที่ต้องระวัง ในการจัดสวนภายในบ้าน คือ การเลือกพันธุ์ไม้ ที่ใบร่วงน้อย กินน้ำน้อย และต้องมั่นใจได้ว่า เราสามารถดูแลต้นไม้เหล่านี้ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ หากดูแลไม่ดี อาจจะกลายเป็นภาระให้บ้านแทน หรือที่ดินของใคร มีลักษณะแคบ แต่ลึก การทำสวนส่วนตัวไว้หลังบ้านก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจเช่นกัน
3. เปิดผนังติดระยะร่น ทำหลังคาเปิด
การรับแสงสว่าง ในการออกแบบบ้านทั่วไป จะรับผ่านทางผนัง กระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหลังคาบ้าน ก็สามารถรับแสงสว่างได้เช่นกัน การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง สามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูโปร่งกว้างได้
โดยเทคนิคนี้ สถาปนิก นิยมนำมาใช้ร่วมกับ โถงบันได ทางเดิน ห้องน้ำกึ่ง Outdoor หรือแม้แต่ภายในห้องนอน ก็สามารถใช้เทคนิคเหล่านี้ได้ แต่จุดที่ต้องระวัง สำหรับการทำหลังคา Sky Light คือ ต้องเลือกกระจกที่สามารถป้องกันแสง UV และกันความร้อนได้ เพื่อให้บ้านได้รับแสงสว่าง แต่ไม่นำพาความร้อนนั่นเอง
4. โปร่ง ปลอดภัย เป็นส่วนตัว
สำหรับพื้นที่บางส่วน ที่สามารถเว้นระยะร่นได้ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน การออกแบบให้โปร่ง โล่ง สามารถรับแสงตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องออกแบบด้วยวัสดุกระจก อาจทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวได้ แต่เราสามารถออกแบบ เปลือกอาคารภายนอกด้วย facade สวยงาม เลือกใช้ระแนง บล็อกคอนกรีต มาปิดกั้นความเป็นส่วนตัว พร้อมกับออกแบบประตูกระจกบานเลื่อน ที่สามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้ click here : assetdata.land
5. ออกแบบ้านให้ชิดด้านใด ด้านหนึ่ง
บ้านเดี่ยวทั่วไป ที่มีขนาดที่ดินประมาณ 15-20 เมตร นิยมวางผังบ้านไว้กึ่งกลางที่ดิน พร้อมกับเว้นระยะร่นด้านละ 2 เมตร ตามกฎหมายกำหนด แต่สำหรับที่ดินหน้าแคบ การเว้นระยะร่นในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลเหลือพื้นที่ก่อสร้างน้อย การเลือกเว้นด้านใด ด้านหนึ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สวน พื้นที่โปร่ง พร้อมกับออกแบบให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลักษณะผนังทึบ เพื่อสามารถเว้นระยะร่นด้านข้างเพียง 50 เซนติเมตร จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างนอกอาคารมากขึ้น ใช้งานจริงได้ดีกว่าเดิม
ส่วนภายในด้านผนังทึบ เหมาะกับออกแบบไว้เป็นพื้นที่บันได บ้านหน้าแคบ จะเหมาะกับบันไดตรง ขึ้นลงตามแนวลึก หากผนังด้านดังกล่าว อยู่ฝั่งทิศตะวันตก หรือทิศใต้ จะยิ่งเกิดประโยชน์ เพราะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วย