บ้านอิฐ
บ้านอิฐ อิงธรรมชาติ จับคู่ความงามได้อย่างลงตัว
บ้านอิฐ อิงธรรมชาติ จับคู่ความงามได้อย่างลงตัวในอดีตคนกับธรรมชาติเคยเป็นส่วนหนึ่งที่เกื้อกูลกัน คนกระทั่งสิ่งก่อสร้างรุกรานธรรมชาติจนต้นไม้ลดน้อยถอยลง บ้านจำนวนไม่น้อยที่มีต้นไม้อยู่ก่อน เจ้าของบ้านเลือกตัดทิ้ง เพื่อให้ใช้พื้นที่อาคารเต็มกำลังโดยแทบไม่มีต้นไม้ ผลลัพท์ที่ได้กลับพบความร้อนและไร้ชีวิตชีวา ในบ้านใหม่ ๆ
จึงพยายามเชื่อมต่อระหว่าง คน บ้าน และธรรมชาติอีกครั้ง โครงการบ้านพักสุดสัปดาห์สำหรับครอบครัวชาห์แห่งนี้ก็เช่นกัน ที่นี่ตั้งอยู่ในเขตชานเมือง Bharuch รัฐคุชราต ภายในสวน Chiku อายุ 50 ปีที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นความท้าทายในขณะออกแบบบ้าน แต่ก็สร้างสมดุลให้เกิดความลงตัวได้อย่างดีรีวิวบ้าน
บ้านนี้มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างซึ่งมีต้นชิคุที่โตเต็มที่มากกว่า 30 ต้น
พื้นฐานเจ้าของบ้านมีธุรกิจผลิตเชิงอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจหลัก และได้ย้ายถิ่นฐานมาจากเมือง Bharuch เพราะหลงใหลในการใช้ชีวิตตามธรรมชาติ เมื่อคิดจะมาสร้างบ้านที่นี่แล้วได้พูดคุยกับสถาปนิกก็ถูกใจในความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ตั้งใจจะคงความเป็นธรรมชาติเอาไว้ จึงเริ่มต้นลงมือออกแบบแผนผังร่วมกันในลักษณะที่สร้างความเสียหายน้อยที่สุดต่อต้นไม้เดิมที่มีอยู่ ให้ใครๆ ก็รู้สึกได้ว่าบ้านเป็นส่วนหนึ่งของต้นชิคุเหล่านี้ นอกจากนี้ยังลองใส่ลูกเล่นกับท่อโลหะเป็นระบบโครงสร้างควบคู่ไปกับงานอิฐเปลือยบ้านจัดสรร
ด้านหน้าของบ้านหันไปทางทิศเหนือ ต้อนรับด้วยทางเดินยาวและเสาโลหะขนาดใหญ่ที่สั่งทำพิเศษ โชว์คาน และงานก่ออิฐฉาบปูน ด้วยข้อดีของบ้านที่หันทิศเหนือ สถาปนิกจึงได้วางแผนการเปิดผนังสูงสุดทางด้านทิศนั้นพร้อมกับพื้นที่เฉลียงขนาดใหญ่ด้านหน้า ซึ่งช่วยให้เราเชื่อมต่อกับภูมิทัศน์ได้โดยตรง ก้าวเข้ามาภายในเป็นคอร์ดยาร์ดโถงสูงเปิดออกสู่ท้องฟ้าที่ล้อมต้นไม้ใหญ่เอาไว้ใจกลางบ้าน ทำให้รู้สึกเหมือนยกพื้นที่กลางแจ้งมาอยู่ภายใน บ้านจึงเย็นสบายรอบด้านรีวิวบ้าน
ในส่วนอื่น ๆ ของบ้านหลังนี้มีรูพรุนและช่องว่างซึ่งสัมพันธ์กับในร่มกลางแจ้งอย่างเคารพธรรมชาติโดยรอบอย่างดีที่สุด ต้นชิกุได้รับการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกโดยสร้างช่องว่างล้อมรอบเอาไว้แทนที่จะตัด ก่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างธรรมชาติและโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นพื้นที่ชั้นล่างไล่เลียงจากลานกลางเปิดโล่ง ตามด้วยบันได มีห้องนั่งเล่น
พื้นที่รับประทานอาหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีครัว ส่วนบริการ มีพื้นที่รับประทานอาหารเชื่อมต่อส่วนกลางแจ้งให้บรรยากาศสุดพิเศษ เพื่อให้ทุกคนเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่มีอยู่รอบบ้าน เป็นส่วนนันทนาการที่ใกล้กับพื้นที่อยู่อาศัยถูกวางแผนไว้สำหรับใช้งานเอนกประสงค์ ไม่ว่าจะนั่งเล่น ปาร์ตี้ เฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ สามารถเลือกเปิด-ปิดได้ บ้านนี้จึงเต็มไปด้วยความโปร่งสว่างรอบด้าน ความลื่นไหลและความยืดหยุ่นในการใช้งานออกแบบบ้าน
พื้นที่สันทนาการในชั้นล่างถูกปกคลุม
ด้วยฟาซาดเจาะรูที่ออกแบบมาเป็นกราฟิกลวดลายป่าในทางตะวันตกเฉียงใต้ แผ่นเหล็กเจาะรูเหล่านี้ติดตั้งเป็นบานเฟี้ยมเชื่อมต่อกัน สามารถเก็บเข้าด้านข้างเปิดผนังให้บ้านโล่ง ๆ เหมือนศาลา และปิดทั้งหมดเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว ทางทิศตะวันออกของบ้านมีห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหารกึ่งกลางแจ้ง โฮมเธียเตอร์ และเฉลียง ทิศใต้ประกอบด้วยส่วนบริการหลักและสระว่ายน้ำบนชั้นลอยพร้อมด้วยห้องนอนสองห้องที่ชั้นหนึ่ง
ชั้นบนหลังจากเดินขึ้นบันไดจะพบกับลานกลางบ้านที่ต้นไม้โผล่ทะลุขึ้นมา ทำให้รู้สึกว่าต้นไม้ตามไปอยู่กับเราในทุกที่ แล้วเรียงฟังก์ชันใช้งานรอบ ๆ ช่องว่าง มีระเบียงขนาดใหญ่ให้นั่งเล่นรับลมนอกอาคาร ซึ่งก็มีต้นไม้โผล่ทะลุพื้นขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเช่นกันห้องนอนชั้นล่างถูกจัดเอาไว้ที่ด้านหลังออกแบบเปิดผนังได้กว้างเช่นเดียวกับจุดอื่นๆของบ้าน เพื่อให้ห้องได้รับแสงธรรมชาติ ลม ภูมิทัศน์ต้นไม้ รวมถึงออกไปใช้งานลานโล่ง ๆ และสามารถออกไปว่ายน้ำออกกำลังกายได้ง่าย ๆ เป็นบ้านโมเดิร์นทรอปิคอลที่เต็มไปด้วยความชุ่มชื่นสบายรีวิวบ้าน
การนำธรรมชาติมาเป็นส่วนของของบ้านด้วยการเจาะช่องเปิด open space ให้โล่งขึ้นสู่ท้องฟ้าห้อมล้อมต้นไม้เอาไว้ หรือการจัดสวนภายในตัวบ้านเลย เป็นวิธีการออกแบบพื้นที่ที่เรียกว่า Inside-out, Outside-in สร้างบรรยากาศให้เหมือนยกพื้นที่กลางแจ้งมาเก็บไว้ภายใน เมื่อเราอยู่นอกบ้านก็ไม่รู้สึกตัดขาดกับภายในบ้าน ซึ่งจะมีข้อดีที่ทำให้บ้านดูไหลลื่นและต่อเนื่องระหว่างภายในและภายนอก แต่ต้องรวังเรื่องการเปิดรับฝน ต้องมีระบบการจัดการน้ำที่ดี เพื่อไม่ให้ระทบกับตัวบ้านและใต้อาคาร